สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

0-7547-6208

03-praduu-abbreviation-01-01-01

แนะนำบุคลากรใหม่: อาจารย์ ดร. วศิน ยิ้มแย้ม

27 มกราคม 2564

หลักสูตรนิติศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ คือ ดร. วศิน ยิ้มแย้ม ซึ่งจะมารับผิดชอบสอนรายวิชาทางด้านกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 3/2564 นี้เป็นต้นไป

ดร. วศินสำเร็จการศึกษานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางวิชาการในด้านกฎหมายมหาชน วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของอาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ระดับดี จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นอกจากความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายมหาชน ดร. วศินยังมีความสนใจทางวิชาการเป็นพิเศษต่อประเด็นอาชญากรรมไซเบอร์ ตัวอย่างกรณีศึกษาสำหรับการวิจัยที่ผ่านมา เช่น งานศึกษาประเด็นการคุ้มครองสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2555 ซึ่งพิจารณาจากกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานหัตถกรรม ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนทุนงบประมาณแผ่นดิน) หรือบทความวิชาการเรื่อง “การควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายโดยศาลฎีกาประเทศญี่ปุ่น” (วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564)

ก่อนเดินทางมาท่าศาลา ดร. วศินเคยเป็นทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในช่วงปี 2552-2564 ซึ่งนอกเหนือจากงานสอนและงานวิจัยในฐานะภาระงานหลักแล้ว อาจารย์ยังประกอบกิจกรรมทางวิชาการที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเป็นวิทยากรสำหรับการอบรมหลักสูตรกฎหมายระยะสั้น เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการงานเสวนาแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านกฎหมายและประเด็นสำคัญร่วมสมัย เช่น ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประเด็นการใช้เทคโนโลยีดิจิตัล และ “ชีวิตวิถีใหม่” (New Normal) รวมถึงการเป็นอาจารย์พิเศษสอนรายวิชาสัมมนากฎหมายสำหรับนักปกครองท้องที่ เป็นต้น

เมื่อเริ่มต้นทำงานที่สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แล้ว นอกจากการเริ่มต้นสอนวิชาต่าง ๆ ตามความเชี่ยวชาญของตน ดร. วศินยังวางแผนพัฒนาโครงการวิจัยต่อเนื่องในทันที โดยมีแผนงานวิชาการแรกคือการวิจัยเรื่อง “ขอบเขตอำนาจผู้ปกครองในการนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และไทย”

Scroll to Top