สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

0-7547-6208

03-praduu-abbreviation-01-01-01
ม.วลัยลักษณ์ร่วมกับชาวบ้านกรุงชิงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

ม.วลัยลักษณ์ร่วมกับชาวบ้านกรุงชิงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

ม.วลัยลักษณ์ร่วมกับชาวบ้านกรุงชิงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในตำบลกรุงชิงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการดำเนินงานการวิจัยเพื่อการพัฒนา

เมื่อวันที่ 23-24 มิถุนายน 2567 คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นำโดย ผศ.ดร.วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ร่วมกับ ดร.สัจจารีย์ ศิริชัย สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ รศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม สำนักวิชาการจัดการ และ ดร.ชนกมลย์ คงยก สำนักวิชาครุศาสตร์และศิลปศาสตร์ ได้สนับสนุนให้ชุมชนจัดทำรายละเอียดของแผนงานวิจัย ที่บ้านหวายช่อ หมู่ที่ 11 ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้เข้าร่วม  36 คน ประกอบด้วย ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  5 คน และทีมวิจัยจาก 4 ชุมชน 31 คน คือ บ้านหวายช่อ บ้านพิตำ บ้านเปียน และบ้านปากลง วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมคือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการดำเนินงานของโครงการวิจัย การกำหนดรายละเอียดของการดำเนินแผนงาน  และการเรียนรู้กิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของบ้านหวายช่อ

กระบวนการอบรมเริ่มจากการแบ่งกลุ่มย่อยตามชุมชน การกำหนดหัวหน้ากลุ่ม พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม ผู้บันทึกประจำกลุ่ม การระดมความคิดตามกรอบที่กำหนดทีละแผน แผนละ 40 นาที นำเสนอกลุ่มละ 5 นาทีและสรุปรวมแผนงาน ก่อนจะจัดทำแผนงานต่อไป จากนั้นแต่ละแผนงานทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะร่วมอธิบาย/ทำความเข้าใจเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ การท่องเที่ยวโดยชุมชน การทำหลักสูตรท้องถิ่น การแปรูปรผลิตภัณฑ์ การจัดการข้อมูล สารสนเทศ เผยแพร่ข้อมูล   ผลจากการอบรมเชิงปฏิบัติการได้แก่

ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการดำเนินงานของโครงการวิจัยซึ่งพบว่าปัญหาสำคัญของชุมชนคือ-ความยากจน / ความเหลื่อมล้ำ และการจัดการทรัพยากรไม่เหมาะสม ทางออกของปัญหาคือ การสร้างการมีส่วนร่วมและรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา  ส่วนเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ประการคือ

  1. การค้นหาแนวทางเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนยากจนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนตำบลกรุงชิง มี 3 กิจกรรม คือ 1) ประเมินรายได้ครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 2) พัฒนาวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนโดยการศึกษาสภาพของทรัพยากร เพื่อพัฒนาเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน 3) สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยแปรรูปจากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งทางสังคมและทางการเงิน
  2. การสำรวจ รวบรวม และสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับทรัพยากรในตำบลกรุงชิง มี 2 กิจกรรมคือ 1) สำรวจทรัพยากร สถานที่เที่ยว ที่กิน ที่พักที่มีอยู่เดิมในพื้นที่และสถานที่ใกล้เคียง 2) สนับสนุนโรงเรียนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
  3. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชนในตำบลกรุงชิง มี 4 กิจกรรมคือ 1) ศึกษาตลาดท่องเที่ยวชุมชน/ความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ 2) อบรมนักสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว และเครือข่ายนอกชุมชน 3) พัฒนาการสื่อสารและช่องทางการเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยว

ทั้งนี้ การจัดอบรมนี้ดำเนินการภายใต้โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นในตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างยั่งยืน ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในช่วงเดือนมิถุนายน 2567-พฤษภาคม 2568

Scroll to Top